วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

เก่าไป ใหม่มา เมื่อ 610 transform to 620

Photo credit www.dcrainmaker.com

จากวันแรกที่ได้รับนาฬิกา Garmin 610 เรือนนี้ ที่ปัจจุบันเป็นนาฬิกาคู่ใจมาเมื่อ มิถุนายน 54 ระยะเวลาการใช้งานเกือบ 30 เดือน ก็ใกล้ถึงวาระที่จะปลดระวาง ซึ่งแน่นอน ของใหม่ที่จะมาทดแทนจะต้องมีดีเทียบเท่าหรือดีกว่าของที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของบทความในตอนนี้

นาฬิกา GPS รุ่น Forrunner 610 ที่จะนำมาเทียบ ถือว่าเป็น รุ่น 1 ของ 610 ที่ออกมา ซึ่งในครั้งนี้ จะนำมาเปรียบเทียบกับรุ่นที่เป็น Minor change ของ Series นี้ ก็คือ 620 forerunner

รูปลักษณ์นาฬิกา เมื่อเทียบกัน

หน้าจอเปรียบเทียบ ระหว่าง 610 และ 620
เครดิตภาพ จาก www.dcrainmaker.com
Gaimin 610  เป็นนาฬิกาที่ดูใหญ่ ไม่เหมาะกับผู้หญิง สักเท่าไหร่ เพราะขนาดค่อนข้างใหญ่เกินไป และรุ่นแรกที่ผลิต ก็เป็นรุ่นที่เป็นโลหะ ซึ่งมีปัญหาตามมา คือเรื่อง ของการลอกของโลหะจนเห็นเนื้อทองแดง ทำให้ผู้ใช้จะเกิดสีเขียวที่บริเวณผิวหนัง   และตัวล็อคข้อของสายนาฬิกา ที่ชำรุดง่าย ซึ่งถึงแม้ภายหลังจะมีการปรับปรุงเป็นพลาสติก แต่ปัญหาเรื่องสายรัดที่ชำรุดง่ายจากลักษณะของโครงสร้างก็ยังแก้ไขไม่ได้
สำหรับน้ำหนักจากรุ่นโลหะทำให้ค่อนข้างหนัก จากที่ DC Maker ชั่งมา คือ 77 กรัม



ขนาดของน้ำหนักนาฬิกา รุ่น 620
เครดิต ภาพจาก www.dcrainmaker.com

Garmin 620  รูปแบบถูกปรับปรุง ให้ดูทันสมัยขึ้นและมีขนาดเพียวลง รูปแบบสายรัดข้อมือที่ดูอิสระและแข็งแรงขึ้นกว่าเดิม ผู้หญิงสามารถใส่แล้วดูไม่รุงรัง น้ำหนักของนาฬิกาที่ถูกปรับปรุงให้ลดลงเหลือเพียง 44 กรัม
หน้าจอ ทุกปรับปรุง เป็นหน้าจอสี แต่การใช้งานจริง ก็ยังเป็นหน้าจอขาวดำ อยู่







ฟังก์ชั่นใน garmin 620

garmin 620  แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อหลัก

เมื่อเปิดนาฬิกา จะพบ

1. หน้า จอ  Run   เลือกสำหรับ แสดงหน้าจอสำหรับเตรียมจับเวลา

2. รูปถ้วย เป็น private รูปแบบส่วนตัว ในส่วนของ
- My workouts ที่สามารถซิงค์ข้อมูลจาก connect.garmin.com ในรูปแบบของโปรแกรมฝึกซ้อมที่กำหนดเองลงมา
- Trainning Center  เป็นการซิงค์ข้อมูล ตารางการซ้อมที่ garmin กำหนดขึ้นในคอมพิวเตอร์ลงมาที่นาฬิกา
- Intervals เป็นการกำหนดรูปแบบการซ้อมแบบ มีกำหนดเวลา สามารถกำหนดเป้าหมายได้เองที่นาฬิกา

3.แถบ 3 แถบ ด้านขวาของนาฬิกา ใช้สำหรับการกำหนดค่าต่างๆในนาฬิกา
    3.1  History
              - Activities
              - Totals    "แบ่งเป็น Weekly / Monthly
              - Options  "ใช้สำหรับ ลบ Activities / reset"
    3.2  Record
               แสดง PB ของนาฬิกาเรือนนี้
    3.3  Setting
               Activity Settings
                      - Data Screens  แบ่งออกเป็น
                                  Screen 1 -4   และ
                                  Virtual Partner -- > Set Pace
                                  Running Dynamics
                       - Alerts  แบ่งออกเป็น
                                  Heart Rate
                                  Run / Walk
                                  Pace
                                  Time
                                  Distance
                                  Cadence
                                  Colories
                       - Auto Lap
                       - Auto Pause
                       - Auto Scroll
                       - Timeout
              Sensors  --> Add Sensor
              Wireless  -->  Bluetooth / wi-fi
              User Profile
                         - Gender
                         - Birth Year
                         - Height
                         - Weight
                         - Heart Rate Zones
               Alarm
               System
                         - Language
                         - Clock
                         - Backlight
                         - Sounds
                         - Units
                                    > Distance                
                                    > Pace / Speed
                                    > Elevation
                                    > Weight
                                    > Height
                          - Theme Color
                          - GPS
                          - Format
                          - Data Recording  --> Smart / Every Second
                          - Restore Defaults
                          - Software Update
                          - About
    3.4  VO2 Max   Race Predictor
    3.5  Recovery Advisor


เมื่อเริ่มใช้งาน

สามารถดู รีวิว และคู่มือ ที่ทาง dcrainmaker.com ทำไว้

คู่มือการใช้งาน  http://static.garmincdn.com/pumac/Forerunner_620_OM_EN.pdf

รีวิวของ DCrainMaker http://www.dcrainmaker.com/2013/11/garmin-forerunner-review.html

สำหรับโหลด app garmin fit มาใช้ที่คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ระบบ wifi

โหลด app garmin fit ในมือถือ ระบบ IOS6 ขึ้นไป เพื่อใช้ระบบการส่งข้อมูล ผ่าน bluetooth และ livetracks
สำหรับ andoids ทางผู้ผลิตแจ้งว่าจะใช้ได้ประมาณ กลางกุมภา 57


สำหรับในบล็อคนี้ จะเป็นเพียงการรีวิว ในส่วนของรายละเอียดการใช้งานเท่านั้น

เมื่อเข้ามาดูระบบภายในของ รุ่น 620 พบว่า มีเทคโนโลยี ที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่น 610  และมีบางอย่างที่ถูกตัดไป

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในรุ่นนี้
1. เทคโนโลยี ของ Wireless มาใช้ ใน Bluetooth / wi-fi
2. เทคโนโลยี ของ Cadence สำหรับการนับจำนวนก้าว โดยไม่ต้องใช้ footpod
3. การประมวลผลในเรื่องของ Running Dynamic ที่ใช้ความสัมพันธ์ของการก้าวเท้า การดีดเท้าส่ง และ ช่วงเวลาการสัมผัสพื้น มาให้ดูข้อมูลและวิเคราะห์
4. เทคโนโลยี Live Track เชื่อมนาฬิกา โดย bluetooth กับมือถือ ปัจจุบันองรับเฉพาะ IOS
5. เทคโนโลยี ใช้ Heart Rate มาคำนวณ VO2MAX และ การพยากรณ์เวลา ในระยะทางวิ่งต่างๆ
6. เทคโนโลยี ใช้ Heart Rate มาคำนวณ  Recovery Time  เพื่อให้พร้อมสำหรับการซ้อม ครั้งต่อไป
7. New PB Record ที่เพิ่มเข้าในนาฬิการุ่นนี้ / เมื่อเคลียร์ workout ออกไป สถิติก็ยังอยู่ ยกเว้น การลบ record ที่จะทำให้หายไป

สิ่งที่ขาดหายไป
1. Bike Mode จากเดิมที่มี Sport ให้เลือกในรุ่น 610  คือ Running / Bicycle มาในรุ่นนี้ ไม่มี mode นั้นให้เลือกแล้ว
2. Virtual Racer  ที่ถูกตัดออกไปเช่นกัน


ปุ่มด้านข้างของนาฬิกา



สิ่งที่ได้สัมผัสจากเมื่อครั้งแรกเมื่อเปิดใช้ครั้งแรก

จากข้อเสียของนาฬิกา 610 ที่มีปัญหาเรื่องสายขาด จากสายนาฬิกาที่ล็อคกับตัวเรือน มาถึงซีรีย์ 620 การ์มินได้ปรับมาใช้สายแบบเป็นหมุดแทน ซึ่งพิจารณาแล้ว ในระยะยาวคงไม่เกิดปัญหาเฉกเช่นรุ่น 610

สายนาฬิกา เป็นช่อง ระบายเหงือได้ง่ายกว่า

สำหรับหน้าปัดแสดงข้อมูล ในรุ่นนี้ มีส่วนที่แสดงเป็นสี  แต่เมื่อเทียบกับ 610 หน้าจอจะเล็กกว่าเล็กน้อย

วัสดุที่เป็นตัวเรือน ดูแล้วเป็นมิตรกับผิวหนัง เพราะเป็นพลาสติก  ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการลอกของทองแดงเหมือน 610 รุ่นแรกๆ  นี่คงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้นาฬิกาเบา

สำหรับการใช้งานครั้งแรก โดยที่ยังไม่ได้ ซิงค์เข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่ออัพเฟิรม์แวร์ นั้น ปัญหาที่พบ เมื่อเทียบกับนาฬิกาเรือนอื่นๆ คือ การตรวจจับสัญญาณ GPS นั้นจะจับได้ช้ากว่านาฬิการุ่น 610 , 405  มาก

และระยะทาง GPS ที่วัดได้จากนาฬิกา 620  มีค่ามากกว่า นาฬิกาเรือนอื่น ตกอยู่ที่ กม. ละ 5-10 เมตร

แต่เมื่อมีการซิงค์นาฬิกา และจะ garmin จะอัพเดตเฟิรม์แวร์ใหม่ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน software update ที่ version 2.30 และ  GPS Version update 2.90 แล้ว

หลังจากอัพเดตเฟิร์มแวร์แล้ว การค้นหาสัญญาณ GPS นั้น ทำได้ดีกว่านาฬิการุ่นอื่นๆ  โดยใช้เวลาเพียงไม่เกิน 5 วินาทีในการจับสัญญาณ


การลงโปรแกรม Garmin Express Fit ลงในคอมพิวเตอร์

สามารถ Download ได้ที่ ลิงค์นี้  https://connect.garmin.com/help/start/Forerunner620-220

ลิงค์สำหรับ ดาวน์โหลด โปรแกรมเพื่อติดตั้งในคอมพิวเตอร์/โนตบุค

สำหรับท่านที่เพิ่งใช้ garmin ครั้งแรก โปรดสมัครสมาชิกเว็บไซต์ก่อนที่ https://connect.garmin.com


การ Set up Garmin Express Fit

หลังจากโหลดข้อมูลมาเรียบร้อยแล้วให้ลงโปรแกรมตามขั้นตอน
และกด next ไปจบจบ

หน้าจอ แสดงการลงโปรแกรม
photo credit from www.dcrainmaker.com


หลังจากนั้นให้เสียบสาย USB เข้าที่คอมพิวเตอร์ และ นาฬิกา เพื่อให้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบค่าและเชื่อมต่อกัน
เมื่อ garmin connect ตรวจพบนาฬิกา
photo credit www.dcrainmaker.com

ขั้นตอนการเซ็ตอัพ wifi ให้รู้จักนาฬิกา

รูปแสดงการจับคู่ ระหว่างนาฬิกาและคอมพิวเตอร์
photo credit www.dcrainmaker.com

ขั้นตอน การกำหนด วง wifi ให้อยู่ในระบบ garmin เพื่อการส่งข้อมูล ระบบ wifi

photo credit www.dcrainmaker.com

เลือก วง ของ wifi ที่ต้องการเพิ่ม
photo credit www.dcrainmaker.com

ใส่ชื่อ ของ network และ เลือก security ตาม วง ของ wifi ที่กำหนดไว้ ซึ่งเราต้องใส่ชื่อ และ รหัส ให้ถูกต้อง ระบบจึงจะผ่านขั้นตอนนี้ให้

photo credit www.dcrainmaker.com

สามารถเพิ่ม วง wifi ได้ตามที่ชอบได้ไม่จำกัด

photo credit www.dcrainmaker.com
หน้าจอแสดงรูป เมื่อ ส่งข้อมูล workout ผ่าน wi-fi สำเร็จ

photo credit www.dcrainmaker.com

หน้าจอ สำหรับ setup หากต้องการให้ ลบข้อมูล เมื่อ load ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
photo credit www.dcrainmaker.com
เป็นอันเสร็จขั้นตอนการโหลดข้อมูล

ปัญหาที่พบ เท่าที่ตัวเอง พอ คือ การส่งค่า wi-fi ไม่ได้  วิธีการแก้ไข คือ uninstall และลงโปรแกรมใหม่


การส่งข้อมูล การวิ่ง ผ่านระบบ WI-FI

เทคโนโลยี นี้ทำให้เราไม่จำเป็นที่จะหิ้ว notebook ของเราไปเพื่อ upload workouts ของเรา และสามารถ load ข้อมูลขึ้นเว็บได้ทันที โดยไม่ต้องใช้สายสำหรับเชื่อมต่อ เพียงมีสัญญาณ wi-fi เท่านั้น

ขั้นตอน ง่าย ๆ มีดังนี้

1. หลังจากที่ท่าน วิ่ง และ save ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
2. คอมพิวเตอร์ / notebook การเปิด-ปิด wireless ไว้ไม่เกี่ยวข้อง เพราะนาฬิกา ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณ wi-fi ที่ถูกปล่อยออกมา  ซึ่งหากเรากำหนดค่าไว้ในการเพิ่ม วง wi-fi น่าจะส่งข้อมูลได้โดยไม่ต้องหิ้วคอมพิวเตอร์หรือ notebook ไปด้วย (แต่อย่าลืมว่า การกำหนดค่าของ wi-fi จะต้องใช้สายลิงค์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดค่าในครั้งแรก) ดังนั้นเราสามารถ ใช้โทรศัพท์มือถือของเราตั้งเป็น Hotspot สำหรับลิงค์ สัญญาณ wi-fi ได้
3. ไปที่ ที่มีสัญญาณ wi-fi ที่เราเพิ่มในระบบไว้ / เปิดสัญญาณ hotspot ที่โทรศัพท์มือถือ
4. นาฬิกาจะค้นหาสัญญาณเองหากเป็นการบันทึกผลทันที  แต่ถ้ามา upload ที่หลัง ผู้ใช้ต้องกดปุ่ม connect ที่ อยู่ด้านขวา ส่วนล่างเอง เพื่อ ส่งค่า wi-fi
5. จากนั้น นาฬิกาจะค้นหา สัญญาณ wi-fi และเมื่อตรวจสอบพบ นาฬิกาจะเชื่อมต่อการส่งข้อมูล โดยที่นาฬิกาจะแสดงดังรูป

photo credit www.dcrainmaker.com
photo credit www.dcrainmaker.com

แสดง ลูกศร ขึั้นลง ใต้คำว่า GARMIN แสดงว่า กำลังส่งข้อมูล
photo credit www.dcrainmaker.com

อนึ่งเนื่องจากเทคโนโลยี wi-fi  นั้น การทำงานของนาฬิกามีหลักการคือจะส่งค่าทันที เมื่อวิ่งเสร็จ  โดย FR620 จะทำการค้นหาสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำเพียงช่วงเวลาสั้นๆ หากไม่พบสัญญาณ นาฬิกาก็จะหยุดการค้นหาทันที เพื่อเป็นการประหยัดแบตเตอร์รี้ที่ใช้  ซึ่งเราสามารถใช้วิธีส่งค่าเอง โดยการกดปุ่ม connect ดังที่กล่าวไว้แล้วในวิธีการ


การส่งข้อมูล การวิ่ง ผ่านระบบฺ ฺBluetooth

ถือเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ garmin ทำออกมาเพื่อสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือ เพื่อ load ข้อมูลขึ้นเว็บ ให้เร็วขึ้น ไม่ต้องรอไปโหลดที่บ้านเหมือนเมื่อก่อน หรือ ใช้วิธีการใช้ อุปกรณ์เสริมมา upload ที่เราต้องไปซื้ออุปกรณ์มาเชื่อมต่อเพิ่ม

ปัจจุบันรองรับเฉพาะโทรศัพท์ IOS 6 ขึ้นไป
*** สำหรับ แอนดรอย ทาง garmin จะออก app มาประมาณกลางเดือน กุมภา 2014 ครับ


วิธีการจับคู่นาฬิกา กับ โทรศัพท์มือถือ ผ่าน bluetooth

ท่านต้องไปโหลด app garmin ใน App Store ชื่อว่า Garmin Connect tm Mobile ในส่วนของเฉพาะ iphone app นี้ฟรี

หลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้วในโทรศัพท์ ให้เชื่อมต่อ โดยท่านต้องมี user id ในระบบของ garmin แล้ว ผมจะข้ามในขั้นตอนนี้ไป

ก่อนการจับคู่ให้ เปิด bluetooth ที่โทรศัพท์มือถือ พร้อมเปิด app Garmin Connect Mobile

วิธีการจับคู่ ที่นาฬิกาให้ทำโดย setting -->wireless -->bluetooth -->pairing mobile Device
ภาพแสดงการจับคู่ระหว่างนาฬิกา และ โทรศัพท์มือถือ ผ่าน bluetooth
photo credit www.dcrainmaker.com

เลือก Device Forerunner 620 จากนั้นเมื่อเชื่อมต่อสำเร็จ จะแสดงดังรูป
photo credit www.dcrainmaker.com


วิธีการ upload ผ่าน bluetooth

1. หลังจากวิ่งเรียบร้อย ให้เปิด ระบบ bluetooth ที่นาฬิกา  setting --> wireless - bluetooth ให้ on จะมีสัญลักษณ์ bluetooth ที่นาฬิกา
2. เปิด Bluetooth ที่โทรศัพท์และ Garmin Connect App
3. จากนั้นนาฬิกาจะส่งสัญญาณ และ อัพโหลด ดังรูป

ขณะอัพโหลดข้อมูลจากนาฬิกาเข้าสู่ Garmin Connect
Photo credit www.dcrainmaker.com
4. เป็นอันจบขั้นตอนการ อัพข้อมูลผ่าน blue-tooth


กรณีไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านระบบ Blue-tooth ได้ ให้ดำเนินการดังนี้

1. เปิด Garmin Connect App และไปที่หัวข้อ My device
2. กดที่ ปุ่ม "i"  ที่อยู่ด้านบนมุมฝั่งขวา และเลือก Remove Device
3. เลือก Remove the Forerunner 620
4. ปิด Garmin Connect App และต้องให้แน่ใจว่า ไม่ได้เปิดโปรแกรมนี้อยู่
5. ปิดระบบการทำงานของนาฬิกา โดย กดปุ่ม power/backling ค้างไว้ จนมัน Shutdown
6. เปิดนาฬิกาใหม่
7. เปิด Garmin Connect App และ ลองจับคู่นาฬิกาใหม่
8. ทดลองส่งข้อมูลอีกครั้ง

จบตอน ที่ 1
..



ตอนที่ 2

Live tracking การแสดงเส้นทางในขณะวิ่งสำหรับโลกออนไลน์

เทคโนโลยีนี้ Garmin ทำขึ้นมาเพื่อสนับสนุนใน Social Media โดยสามารถแชร์ เส้นทาง และรายละเอียดอื่นๆ ขึ้นในเว็บ แชร์ผ่าน facebook / twitter  โดยสามารถเชิญเพื่อนๆ เข้ามาชม ผ่าน email โดยปัจจุบันสนับสนุนเพียง iphone อย่างเดียว

เทคโนโลยีนี้ จะต้องใช้ควบคู่กับโทรศัพท์มือถือเท่านั้น  วิธีการมีดังนี้

 1. เมื่อเปิดโทรศัพท์ ให้เข้า Garmin Connect และ เลือก My Device -- > LiveTrack จะแสดงดังรูป




2. ที่หัวข้อ Invite Recipients สามารถเลือก เชิญเพื่อนๆ ผ่านอีเมล์ เพื่อติดตามการวิ่งใน workouts นี้
โดย ลิงค์นี้ สามารถติดตามดูสด และย้อนหลังได้ภายใน 24 ชม หลังจากการกดหยุด live Track
3. เลือกหัวข้อที่ต้องการแชร์ ในสังคมออนไลน์  Facebook / Twitter
4. กดปุ่ม Start Live Track เพื่อเริ่มวิ่ง  จะแสดงรูปดังข้างล่าง


5. เพื่อนๆ สามารถติดตาม เส้นทางวิ่งสดๆ ผ่าน social ที่เราเลือกเผยแพร่ ดังรูป




VO2MAX Race Predicate

ฟังก์ชั่นการคำนวณระดับความฟิตนี้ จะต้องใช้ควบคู่กับสาย Heart Rate เพื่อตรวจสอบการทำงานและอัตราการเต้นของหัวใจขณะวิ่ง  ซึ่งจะแสดงระดับความฟิต หลังจบการวิ่ง ดังรูป

หน้าจอแสดง VO2MAX เมื่อวิ่งจบที่นาฬิกา
Photo Credit www.dcrainmaker.com
เทียบค่าความฟิต จาก เพศ อายุ คำนวณออกมาเป็นโซนให้
หน้าจอแสดง VO2MAX เมื่อวิ่งจบที่ garmin connect
Photo Credit www.dcrainmaker.com
ซึ่ง Workouts ทั้งหมด จะถูกรวบรวมประมวลผล เป็นการพยากรณ์ สถิติการวิ่งในระยะต่างๆ ของผู้ใช้ขึ้นมาให้ดังรูป
หน้าจอแสดงค่าการพยากรณ์สถิติ ที่ผู้ใช้สามารถจะทำได้
Photo Credit www.dcrainmaker.com
"ซึ่งในมุมมองส่วนตัวของผู้ใช้ คิดว่าการพยากรณ์ดังกล่าว ที่ได้ทดสอบมา ยังมีค่าความคาดเคลื่อนอยู่มาก เพราะการทำสถิติต่างๆ มีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง มากกว่าค่าจากการจับอัตราการเต้นของหัวใจ และสถิติการซ้อมทีได้บันทึกไว้"

Recovery Advisor

เป็นฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่องมาจาก Vo2Max ที่ใช้ Heart Rate ในการคำนวณค่าออกมา โดยใช้ข้อมูลจาก 6 นาทีแรกของการ Workout  หากเราคาดสาย Heart Rate นาฬิกาจะแสดงค่าแจ้ง ว่า Recovery Check ของเราอยู่ในระดับไหน  โดยการแสดงข้อความขึ้นมาดังรูป


ในส่วนของ Recovery advisor อีกอันหนึ่ง คือ การแจ้ง ระยะเวลาที่ต้องพัก ที่สั้นที่สุด เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อการซ้อมหนัก ครั้งต่อไป ดังรูป  ซึ่งเป็นการป้องกันการซ้อมที่หนักเกินไปที่จะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาได้



Running Dynamics

เป็นฟังค์ชั่นที่จะนำข้อมูลจากการวิ่งมาวิเคราะห์ โดยต้องอาศัย Heart Rate Sensor ที่มาพร้อมกับรุ่นนี้โดยเฉพาะ ไม่สามารถใช้ Heart Rate รุ่นเก่าได้ โดยค่าที่ได้จาก ฟังก์ชั่นี้ มีดังนี้

1. Cadence ต่อการวิ่ง 1 กม.  Cadence คือจำนวนก้าวที่ใช้ในการวิ่งต่อ 1 กม.  ในส่วนนี้ ใช้วิธีการคำนวณจากจังหวะแกว่งแขนพร้อมนาฬิกา ที่มี sensor chip อยู่ที่นาฬิกา ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับสาย Heart Rate
2. Vertical Oscillation นี้การวัดค่าในส่วนนี้เป็นเรื่องของทฤษฏีการใช้พลังงาน และการใช้ร่างกาย โดยวัดค่าจากแรงดีดในการเคลื่อนย้ายไปข้างหน้า โดยวัดจากตำแหน่งของ Heart Rate ที่อก และสัมพันธ์กับจังหวะการก้าวเท้าแต่ละข้าง ในจังหวะขึ้นลง ในการเคลื่อนไปข้างหน้า
3. Ground Contact Time ตัวชี้วัดนี้จะครอบคลุมถึงระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละ ฝีเท้าบนพื้นดินที่วัดเป็นหน่วยมิลลิวินาที (1,000 มิลลิวินาที = 1 วินาที)  โดยปกติการใช้เวลาน้อยกว่าบนพื้นดินจะทำให้ได้จังหวะที่เร็วขึ้นในการวิ่งและนักวิ่งที่ เก่งๆ ส่วนใหญ่มักจะมีจังหวะค่อนข้างเร็ว นั่นหมายถึงการใช้เวลาบนพื้นให้น้อยที่สุด คุณอาจจะเห็นตัวเลขนี้มีความผันผวนโดยตรงกับที่ของจังหวะซึ่งในสถานการณ์ที่คนจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะยังมีความสัมพันธ์กับความเร็ว

Water proofing
สำหรับนาฬิการุ่นนี้ รองรับการว่ายน้ำ ที่ระดับความลึกไม่เกิน 50 เมตร จากการทดสอบของ dcrainmaker ที่ทดสอบแล้ว ว่าสามารถใช้ว่ายน้ำในทะเลได้ 2 ชม โดยไม่มีปัญหาใดๆกับนาฬิกาเพราะไม่มีส่วนที่เป็นโลหะทำปฏิกิริยากับน้ำทะเลสำหรับส่วนของนาฬิกา แต่ ส่วนปุ่มกด และข้อต่อต่างๆ ยังไม่แน่ใจ

Battery Life
ตามคู่มือที่ทาง Garmin แจ้งว่าสามารถใช้ได้ ประมาณ 10 ชม จากการชาร์ตเต็ม  แต่จากที่ได้ทดลองวิ่งมาราธอนที่ผ่านมา ปรากฏว่า วิ่งไป 4 ชม  ใช้แบตเตอรี่ไป 50% พอดี จึงคิดว่า อายุการใช้งานในแต่ละรอบคงไม่ถึงตามที่ Garmin แจ้งคุณสมบัติไว้

Training Plan
download from connect garmin to FR620
บนเว็บไซต์ของ garmin connect ปัจจุบันมีโปรแกรมเสริม สำหรับสร้างตารางสำหรับการฝึกซ้อมเพื่อเป้าหมายการทำสถิติให้ดีขึ้นในระยะต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งเราสามารถเข้าไปที่หัวข้อ Plan-->Training Plan  โดยกำหนดวันเริ่มของกิจกรรมไป ระบบจะดำเนินการสร้างตารางซ้อมออกมาให้เราในปฏิทินการวิ่งของเรา

1. ไปที่ connect.garmin.com
2. ไปที่ tab Plan และ เลือก Training Plan  ดังรูป



3. หลังจากเลือก Training plan และ จะแสดงหน้าจอ ดังรูป เพื่อให้เลือกเป้าหมายในการฝึกซ้อม  กด browse training plan


4. จากนั้นก็จะมีตารางการซ้อม ในแต่ละ ระยะที่เราต้องการเลือก ขึ้นมา  ให้เราเลือกระยะ และระดับที่ต้องการฝึกซ้อม ซึ่ง level เรียงจาก เบา ไปหาหนัก


5. หลังจากเลือก ตารางแล้ว จะแสดงหน้าจอดังรูป ให้กด schedule


6. จากนั้น ให้เลือก วันที่ เริ่มต้น ตารางซ้อม และ วันที่สิ้นสุด จากนั้นให้กด Save

7. เมื่อเสร็จสิ้น ระบบจะแจ้งดังหน้าจอ

8. สำหรับการส่ง ตารางการซ้อมไปที่นาฬิกา รุ่น 620 ให้ปฏิบัติ ตามดังต่อไปนี้
9. ไปที่ tab Plan และ เลือก Calendar จะเห็นหน้าจอดังรูป


10. กดที่ปุ่มขวามือ ที่ติดอยู่กับ ปุ่ม Year จะแสดง window popup menu เล็กๆขึ้นมาดังรูป


11. สำหรับการส่งโปรแกรมการซ้อมนี้ ไม่สามารถใช้ wi-fi หรือ blue-tooth ในการเชื่อมต่อและส่งข้อมูลได้ ต้องเสียบสาย USB ต่อเชื่อมเข้ากับตัวนาฬิกาเท่านั้น  โดยจะต้องกดเลือก send device to device โดยจะมีแสดงหน้าจอเล็กๆ ขึ้นมาใหม่ ให้กดปุ่ม send อีกครัั้ง หลังจากนั้นหน้าจอจะให้เลือกรุ่นนาฬิกาที่ต้องการส่งค่าอีกครั้ง ให้เราเลือกรุ่นให้ถูก และขณะส่งข้อมูลจะแสดงหน้าจอดังรูป

12. เมื่อส่งข้อมูลเรียบร้อย จะแสดงหน้าจอดังรูป


13. ถอดนาฬิกาออกจากสาย USB นาฬิกาจะขึ้นข้อความ "Update"  
14. กลับไปตรวจสอบตารางซ้อมที่นาฬิกา โดยเข้าที่ รูปถ้วย เลือก Training Calendar จะแสดงตารางซ้อมที่อยู่ใน garmin connect ลงมาที่นาฬิกาสำหรับฝึกซ้อม

*** หมายเหตุ ถ้าเช็คแล้วไม่เจอโปรแกรม ให้ย้อนกลับไปทำที่ข้อ 10 ใหม่ ถึงข้อ 12 และรอสักพักใหญ่ๆ ค่อยถอดสายนาฬิกาออกจาก USB แล้วค่อยทำข้อ 13-14


Personal Best Records

สำหรับการ์มิน ในการจัดเก็บสถิติที่ดีที่สุดของการวิ่ง ในระยะทาง 10K Half Marathon และ Marathon ยังคงเป็นหลักการเดียวกันกับเว็บไซต์ connect.garmin.com

กล่าวคือ การจัดเก็บสถิติ นั้น ระบบไม่ได้สนใจที่ระยะที่ตรง ของการบันทึกนั้นๆ โดยระบบของ garmin จะจัดเก็บ personal record จากระยะทางรวมเมื่อกดนาฬิกาหยุด โดยไม่สนใจว่า ระยะจะเกินไปกี่เมตร หรือกี่กิโลเมตร ตัวอย่างเช่น  เมื่อวิ่งจริง  10.30 กม ใช้เวลา 53.05 นาที และกดบันทึก Garmin PB Record จะเช็คเพียง ระยะเดิมที่เก็บข้อมูล เช่น 10KM เทียบกับ ระยะใหม่ที่ทำได้ใช้เวลาน้อยกว่าหรือไม่ สมมติว่าถ้าสถิติเดิม อยู่ที่ 53 นาที อยู่ที่ระยะจริง 10 กม พอดี  สำหรับสถิติการวิ่งวันนี้เมื่อเทียบแล้วมีค่าสูงกว่า ก็จะไม่ถูกบันทึกลง ทั้งบนนาฬิกาและบนเว็บ ซึ่งไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าใดนัก เพราะเมื่อคำนวณจริงแล้ว การวิ่งระยะ 10.30 กม. ถ้าย้อนกลับระยะมาที่ 10 กม. เวลาย่อมใช้น้อยกว่านี้

ซึ่งแตกต่างจากหลักการเก็บข้อมูลของ Endomondo ที่คำนวณจากระยะทาง 10 KM จริงๆ โดยใช้ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ใน workout ในการเก็บข้อมูล

จบตอน 2
...................................


ตอนที่ 3

การใข้งานจริง

รายละเอียดอื่นรอเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนอื่นต่อไป .....>

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Race 130 นครธน มินิมาราธอน ครั้งที่ 6

พูดถึง รพ.นครธน ผมเชื่อว่า บรรดานักวิ่งทั้งขาเก่า และขาใหม่ คงจะคุ้นเคยก็ชื่อ โรงพยาบาลนี้แน่นอน แต่ก็อาจจะไม่รู้ว่า รพ.นครธน นี่ อยู่ที่ไหน  ทำไมถึงคิดว่านักวิ่งต้องรู้จัก โรงพยาบาลนครธน ที่ต้องกล่าวเช่นนั้น เพราะว่า เมื่อคุณไปงานวิ่งที่ใด ไม่ว่าจะเป็นงานที่จัดโดยออแกไนส์ จ้อคแอนด์จอย ที่มีงานเกือบทุกอาทิตย์ หรือ กระทั่งงานที่ ทางสมาพันธ์เดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทยสนับสนุน คุณก็จะเห็นโลโก้ โรงพยาบาลนี้แทบทุกครั้งไป นี่ยังไม่รวมถึง หน่วยพยาบาลที่ตั้งอยู่ในงาน และ รถแอมบูแลนซ์ที่เตรียมพร้อมให้บริการตลอดงาน

ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี ที่บรรดาเหล่านักวิ่งจะกลับมาตอบแทนน้ำใจที่ทางโรงพยาบาลมอบให้ ทุกวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เพราะทุกวันรัฐธรรมนูญ ถือเป็นประเพณีของโรงพยาบาลที่จะจัดงานวิ่ง และส่งต่อสิ่งดีดี ให้กับสังคมทุกครั้ง โดยในครั้งนี้ทางโรงพยาบาล ได้มีจุดมุ่งหมายในการร่วมส่งมอบรายได้ให้กับมูลนิธิ 17 มูลนิธิ เพื่อนำไปใช้ในเรื่องสาธารณะประโยชน์ต่อไป

สำหรับผมเอง หลังจากที่เคยเล่าให้ฟังไปแล้วในบล็อคเก่าๆ ว่า งาน นครธน ถือเป็นงานวิ่งงานแรกที่ข้าพเจ้าได้เข้าสู่วงการวิ่งอย่างเป็นทางการ คือตั้งแต่ นครธน มินิมาราธอน ครั้งที่ 2 ที่เสื้อที่ระลึกในงานนั้นคือ ส้ม-เขียว  หลังจากนั้นก็เข้าร่วมงานนี้ไปตลอด และคิดว่าตราบใดที่ข้าพเจ้ายังมีแรงและมีกำลังทรัพย์ ข้าพเจ้าก็จะขอเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ตลอดไป

..............................................................

การกลับมาวิ่งในงานนี้อีกครั้ง ถือว่าเป็นการระเบิดปอด ตามเคล็ดลับของสถาวรรันนิ่งคลับ ที่ปรมาจารย์แห่งวงการวิ่ง โค๊ชสถาวร เคยให้เคล็ดลับมา  หลังจากที่วิ่งมาราธอนมา อีกอาทิตย์ต้องไประเบิดปอด ด้วยระยะ 10K ผมคิดว่าหลักการนี้ใช้ได้เฉพาะ ผู้ที่ผ่านมาราธอน ต่อปี ไม่เกิน 2 ครั้งเท่านั้น ถ้าคุณวิ่งมาราธอนทุกอาทิตย์ขอให้มองข้าม บทความนี้ไป

ทำไมผมถึงศรัทธา กับเคล็ดลับนี้ ทั้งที่ไม่รู้ความหมายของการกระทำดังกล่าวเลย ว่าทำไปเพื่ออะไร แล้วจะได้อะไร แต่สิ่งที่ผมรู้ ก็คือ ผลลัพธ์ของมัน ออกมาดีทุกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่ผมพยายามที่จะทำให้มันเกิดขึ้นอีกครั้งด้วยความสม่ำเสมอ

................................................................
ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่เจ็บออดๆ แอดๆ มาตลอด การซ้อมเพื่อลงมาราธอนที่สิงคโปร เพิ่งจะมาเริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน กับเวลา 30 วัน เพื่อผ่านมาราธอน แบบไม่เสียสมดุลย์ทางร่างกาย
โปรแกรมการซ้อมยาว ทุกบรรจุในตารางการซ้อมทุกกลางสัปดาห์และวันอาทิตย์ตลอดเดือน  นั่นรวมถึงการแอบไปซ้อมยาวที่งานกรุงเทพฯมาราธอน ที่ไปมีส่วนร่วมในการสร้างตำนานความเข้าใจผิดในโอเวอร์ออลหญิง ให้อายกันไปพักใหญ่

รูปแบบการซ้อมตลอดเดือนนั้นบรรจุเพียงสร้างความอึดในระยะทางที่เพิ่มขึ้น โดยปราศจากรูปแบบการซ้อมความเร็วทั้งปวง
...................................................................

ผลประกอบการของสิงคโปรมาราธอน ที่สามารถจบ ด้วยเวลา 4:58:17  ซึ่งต่ำกว่า 5 ชั่วโมงตามที่ได้แจ้งตอนสมัครไว้ รวมกับสภาพร่างกายที่หลังวิ่งมาราธอนจบ ได้ทำการคูลดาวน์โดยการสนับสนุนจากทางผู้จัดงานร่วม  6-7 กม ทำให้ร่างกายไม่ช้ำ ไม่โรย
....................................................................

เวลา 6.00 น พิธีกรบนเวที ให้สัญญาณในการปล่อยตัว บรรดาเหล่านักวิ่ง ได้เริ่มทยอยก้าวขาออกจากจุดที่่ตัวเองยืนอยู่ออกไปจนหายไปลับตา   แต่ตัวผมเองกับพี่ย้ง ยังคงยืนอยู่ในคอก เพราะวันนี้นัดเพื่อนๆ นักวิ่งที่สั่งจองเบอร์และเสื้อ ผ่านระบบออนไลน์มารับ ยังขาดเพื่อนอีกคนที่ยังไม่มารับเบอร์ไป ซึ่งผมได้โทรตามแล้ว แต่สงสัยว่าจะเข้าใจเรื่องสถานที่ผิดหรือ ติดที่ขบวนนักวิ่งเลยเข้ามาไม่ได้ เวลาผ่านไปเกือบ 2 นาที หลังจากปล่อยตัว จึงตัดสินใจฝากเสื้อและเบอร์ ที่เหลือไว้กับโค๊ช  ที่วันนี้ตัดสินใจไม่วิ่งเพราะเหตุการณ์เฉพาะหน้าบริเวณบูธสมัครวารสารไทยจ็อคกิ้งไม่น่าไว้วางใจ ให้ช่วยส่งมอบแทน

เวลา 6:02 ผมจึงชวนพี่ย้ง ออกวิ่งตามบรรดานักวิ่งไป โดยความตั้งใจแรกจะวิ่งผ่านซุ้มปล่อยตัว แต่ทว่า ณ เวลานั้น กลุ่มเดิน เริ่มทยอยเข้าพื้นที่และจับจองพื้นที่กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงตัดสินใจวิ่งออกไปทางถนนคู่ขนานแทน  ซึ่งนาทีนั่น คิดอย่างเดียวจะสับยังไงให้พ้นกลุ่มนักวิ่งที่เดินอยู่ท้ายแถว

ยังดีที่ในระหว่างที่รออยู่ในบูธ ผมได้ทำการวอร์มร่างกายด้วยการกระโดดให้เหงื่อพอซึม มีการยืดเหยียดในจุดที่พอจะทำได้ในบริเวณแคบๆนั่น จึงทำให้ร่างกายไม่น็อค จากการเริ่งสปีดตั้งแต่วินาทีแรกที่เริ่มวิ่ง ซึ่งการวิ่งฝ่าฝูงชนกลุ่มใหญ่ ถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากกายและลำบากใจ เพราะถ้าพูดกันตามตรง ถ้าคุณคิดจะวิ่งเร็ว เพื่อทำเวลาไม่ควรมาอยู่ด้านหลังเช่นนี้ เพราะลำบากกายมาก จากการที่ต้องวิ่งไปเบรคไป

จากบริเวณถนนพระราม 2 เลี้ยวซ้าย เพื่อเลาะขอบรั้วสำนักงานเขตบางขุนเทียนเข้าสู่เส้นทางวิ่งที่ตอนนี้ปิด 100% ไปเรียบร้อยแล้ว ก็พบ พี่ทนงศักดิ์ กับ บอย ที่วันนี้วิ่งคู่กัน นาทีนั้นหลังจากทักทายเรียบร้อย ผมก็รีบเร่งสร้างจังหวะหนีออกไป โดยคิดไว้ในใจ ถ้าสามารถ ไปถึงสะพานข้ามแยกถนนพระราม 2 เมื่อไหร่ คงวิ่งง่ายขึ้นเยอะกว่านี้ เพราะ คาดว่านักวิ่งคงจะชะลอความเร็วเมื่อเจอสะพานข้ามคลองในงานนี้

หลังจากข้ามสะพานข้ามคลองแรก ระยะทาง กม แรก ก็วิ่งมาครบระยะทาง ณ บริเวณแยก ที่ทางผู้จัดให้เลี้ยวซ้ายเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่ถนนบางขุนเทียนชายทะเล  ในตอนนั้นความรู้สึกเริ่มกระหาย อยากอัดให้มากกว่านี้ เพราะต้องการชดเชยเวลาที่เสียไปใน กม.แรก ให้ค่าเฉลี่ยของการวิ่งวันนี้ให้ลดลง

ซึ่งเมื่อวิ่งเข้าสู่ถนนเส้นนี้ ข้าพเจ้าจึงปรับจังหวะให้ก้าวยาว และถี่ขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็ว เป้าหมายอยู่ทีึ่ค่าเฉลี่ย 4.30 ซึ่งเมื่อวิ่งจริง อากาศที่เป็นใจรวมกับความต่อเนื่องในการเพิ่มระดับความเร็วนั่นทำให้ ความเร็ว เร็วกว่าที่ตั้งใจไว้ ซึ่งค่าที่แสดงออกมาเมื่อครบ 2 กม คือ 4.20  ซึ่งรวมถึง การพบจุดให้น้ำแรกของงาน  ซึ่งจากเหตุการณ์ในปีก่อนจำได้ว่า จุดให้น้ำนี้จริงๆ เป็นจุดสุดท้ายของงาน  จึงทำให้ตัดสินใจไม่รับน้ำในจุดนี้ เพราะจำได้ว่าจุดให้น้ำแรกของปีก่อน อยู่ที่ บริเวณหลังลงสะพานข้ามถนนพระราม 2  จึงตัดสินใจประคองจังหวะความเร็ว เพื่อข้ามให้พ้นสะพานใหญ่ที่ถือเป็นอุปสรรคอันดับต้นๆในการวิ่งวันนี้  หลังจากลงสะพานมาเรียบร้อย แล้วผมจึงเริ่มมองหาจุดให้น้ำเมื่อปีก่อน  เห้ยไม่มี นี่คือสิ่งที่พลาดที่สุดจากการไม่ศึกษาเส้นทาง และจุดให้น้ำ เพราะความประมาทที่คิดว่าวิ่งที่นี่ทุกปี จึงทำให้นึกได้ว่า จริงๆ แล้วจุดให้น้ำหน้าปั้ม ปตท. เนี้ยเป็นจุดให้น้ำที่ทางเจ้าของมาตั้งเอง เพื่อช่วยงาน

ฮ่วย ต้องแบกความกระหายไปถึง 4 กม. แน่ๆ แบบนี้ ซึ่งแน่นอน ใน กม ที่ 4 เนี้ย มันถึง ซอยเทียนทะเล 7 เลย  จึงตัดสินใจเริ่มผ่อนจังหวะลง มิเช่นนั้น อาจเครื่องดับระหว่างทางแน่ๆ แต่ในขณะที่ผ่อนเครื่องลง วันนี้เห็นสาวเสื้อส้ม ที่เมื่ออาทิตย์ก่อนเพิ่งไปเปิดซิงมาราธอนแรกที่สิงคโปร ด้วยเวลาที่ข้าพเจ้าวิ่งมา 5 ปี ยังไม่สามารถทำได้ อยู่ข้างหน้า  หลังจากที่วิ่งตามมาสักพัก จึงแน่ใจว่าวันนี้เธอไม่ปกติแน่ เพราะลักษณะท่าทางการวิ่ง วันนี้แปลกไปมาก ซึ่งก็เป็นอย่างที่คิดเพราะ มีอาการบาดเจ็บรบกวนเจ้าหล่อน จึงต้องวิ่งด้วยความเร็วที่ช้าลง   ผมจึงค่อยๆ วิ่งแซงไปและรักษาจังหวะจนกว่าจะเจอน้ำจุดที่ 2 ของงาน ซึ่งระหว่างทาง ก็เจอ เจ้าเอ้ เด็กน้อยแห่งเทียนทะเล ที่ช่วงหลัง ซ่าส์ ลงทั้งมาราธอนที่กรุงเทพ  ลง32เค ที่เขาชะโงก มาในฟอร์มยางแตก เพราะชวนวิ่งแล้วไม่ยอมวิ่งตามมา

เมื่อถึงจุดให้น้ำ จึงรีบจัดการกับน้ำที่วางเรียงรายอยู่บนโต๊ะหมายดับกระหาย แต่ดื่มมากไปจนรู้สึกจุก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการวิ่งระหว่าง กม ที่ 5 ไปด้วย  ระหว่างเส้นทางนี้รู้สึกเสียดท้อง จึงเบาความเร็วและเริ่มมองฝั่งตรงข้าม เพื่อดูว่าใครวิ่งกลับมาแล้ว ซึ่งแน่นอน ก็เป็นบรรดาเหล่าแน่หน้า  องศา สิงหา และเพื่อนนักวิ่งท่านอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแน่นอน วันนี้ ที่ตอนแรกนัดกับน้องแจงว่าจะช่วยวิ่งลากกัน  วันนี้ข้าพเจ้ายังไม่เห็นน้องระหว่างงานและเส้นทางเลย   เพราะเริ่มเห็นแนวหน้าขาแรงหญิง ตั้งแต่เด็กน้อย พิกุล ทองลือ ที่วันนี้วิ่งนำมาเป็นโอเวอร์ออลหญิง  และกลุ่มสาวๆ ท่านอื่นที่วิ่งผ่านไป เลยเดาไปว่าอาจจะไม่มา

เป็นอีกเรื่องที่น่าชมเชย กับการปิดกั้นถนน ที่ ถนนเส้นทาง 5 กม ที่ผ่านมา จะเห็นเจ้าหน้าที่ตั้งกรวย กั้นรถ และมีเจ้าหน้าที่อยู่ ทุกๆ 50 เมตร  เป็นงานวิ่งที่จัดกันเอง ที่ผู้จัดรายใหญ่ ต้องมาศึกษาเลยว่าเค้าทำกันอย่างไร หาเจ้าหน้าที่จำนวนมากขนาดนี้มาอำนวยความสะดวกได้อย่างไร บอกตรงๆ วิ่งแล้วอุ่นใจทุกครั้งที่นี่

เพลินดีกับการมองฝั่งตรงข้าม ถ้ารู้จักกัน เห็นกันก็ยกไม้ยกมือทักทาย ถ้าไม่รู้จัก แต่น้ำมาก็ปรบมือเชียร์ นี่คือเสน่ห์อีกอย่างของข้างทางวิ่ง  ไม่ว่าจะเป็นพี่หนิด และเป้ จากเซ็นทรัลพระราม 2 พี่หมู น้องแจ็ค จากสยามรันเนอร์ และหนุ่มๆ จากเทียนทะเล ที่วันนี้มากันพอสมควร ความเพลิดเพลินทำให้ลืมความจุก ความเหนื่อยไปได้ และวิ่งครบระยะ 5 กม. จนได้ที่เวลา 22:56  ซึ่งคลับคลายคลับคลา ว่าสถิติที่ดีสุดของระยะทาง 5 กม. ที่เคยทำได้เวลาน้อยกว่านี้ แต่มาถึงนาทีนี้แล้วอะไรก็หยุดไม่อยู่แล้วครับ เพราะผมเริ่มได้เป้าหมายในการออกไล่ล่าแล้ว เพราะฝั่งตรงข้าม สาวๆ หนุ่ม ๆ เสื้อส้มดำ จากชมรมวีเลิฟสถาวรรันนิ่งคลับ ต่างทยอยวิ่งผ่านไป ตั้งแต่คุณหนก อาปู น้องเส่ง และน้องบี ที่วิ่ง ตามกันมา ซึ่งคำนวณระยะทางแล้วน่าจะห่างอยู่ประมาณ 1 กม.

ในระหว่างที่เริ่มเร่งจังหวะในครึ่งทางหลัง กับเป้าหมายวันนี้ต้องวิ่งต่ำกว่า 50 นาทีให้ได้ ครึ่งทางแรก ทำได้แล้ว หากไม่ยางแตกไปซะก่อน วันนี้น่าจะผ่านได้ไม่ยาก ขึ้นอยู่ว่าจะมีเซอร์ไพรส์อะไรอีกหรือป่าว ระหว่างเส้นทางนี้ ก็พบ ทั้งพี่ทศ คุณไก่ พยัคฆ์ดำ ที่วิ่งอยู่ด้านหน้า ซึ่งยังคงเอกลักษณ์เดิมไม่เปลี่ยนแปลงกับการวิ่งชิวเคร้าเสียงเพลง

ความคิดแวบขึ้นมาในสมองบัดดล ว่าจะต้องวิ่ง 4.30  ใน 2 กม.ต่อจากนี้ แล้วค่อยไปผ่อนในจังหวะขึ้นสะพาน แล้วค่อยอัดให้หมดถัง เมื่อกลับตัวหลังลงสะพาน

นาทีนี้ จังหวะการเร่ง เป็นเท้าต่อเท้า เหมือนกงล้อที่กำลังถูกปลดปล่อยลงจากเขา การฉีกจังหวะแซงน้องบี สาวหมวกแดง ก็เริ่มขึ้น เมื่อจุดให้น้ำ กม ที่ 6  ยังเหลือเป้าหมายให้เกาะอีกหลายคนและหลายช่วงในวันนี้  จากการสังเกตุเมื่อกลับตัวมา  ระยะห่างแต่ละคนมีพอสมควร ที่จะให้สะสมพลังงานในการระเบิดฟอร์ม

นาทีนี้เหมือนเครื่องจักรสีแดง ที่พลังฟื้นกลับมา ไม่มีอาการจุก มีแต่ความสนุกทุกย่างก้าวที่ทะยานออกไป เริ่มร่นระยะห่าง กับ กลุ่มพลพรรค ส้ม-ดำ สองอาหลานลงมา จนกระทั่ง สังเกตุได้ว่า หนุ่มน้อยเริ่มออกอาการหล่น และเริ่มห่างจากคุณอา ทีละน้อย ผมจึงค่อยๆ เร่ง เพื่อหาจังหวะเกาะไปโดยไม่ลืมเป้าหมายของการคุมเพชเวลา 4.30 เพื่อถนอมแรงไว้สปีดในช่วงสุดท้าย กลับได้เจอกับน้องแจง ที่วันนี้เป็นสาวส้มดำ อีกคน จึงชวนให้วิ่งด้วยกัน แต่ได้รับการปฏิเสธ อย่างสิ้นเยื่อใย เพราะอาการป่วยอีกครั้ง

จุดให้น้ำจุดที่ 4  ที่ระยะ 8 กม. อยู่ข้างหน้า  มาถึงตอนนี้ เริ่มเจอเพื่อนๆ ที่คุ้นตากันเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะพี่อำนวย เทียนทะเล ที่ตอนนี้ ออกสเตป วิ่งอยู่ในจังหวะและรัศมีเดียวกันกับเป้ เซ็นทรัลพระราม 2   ข้าพเจ้าจึงเร่ิมเร่งความเร็ว แซงคุณอา ยังสาวขึ้นไปก่อน ก่อนที่จะเร่งอีกจังหวะเพื่ิอแซงพี่อำนวย ที่ผมเพิ่งจะวิ่งแพ้ไปแบบสู้ไม่ได้เมื่องานวันอาทิตย์ ที่บางหญ้าแพรก ระยะฮาล์ฟที่ผ่านมา

หลังจากรับน้ำในจุดที่ 4 เรียบร้อย กินทางปาก และระบายความร้อนทางหัวเรียบร้อย ตั้งใจจะวิ่งเข้าไปใกล้เป้ให้มากที่สุดเพื่อดร๊าฟท์ ให้ใช้แรงน้อยลง ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ขึ้นสะพาน

ผลปรากฏว่าผมแรงเริ่มตก อาจจะมาจากจังหวะที่เร่งกระชากมาตลอดทาง และการไม่ได้ซ้อมลงคอร์ตใด ๆ ตลอดที่ผ่านมา  รวมกับเนินยาวๆ  แต่ดีที่ว่า ตอนนี้มีความอึดจากการซ้อมยาวมาตลอดเดือน จึงทำให้ไม่น้อค จึงต้องประคองจังหวะ ไม่คิดเร่งในจังหวะขึ้นสะพานนี้ ใช้กลยุทธ์ทุกอย่างที่รู้ ไม่ว่าจะโน้มตัวไปข้างหน้า ก้าวสั้น แต่ถี่ เพื่อประหยัดแรง แต่กลับเป็นว่า เป้ เกิดคึกอะไรไม่รู้ สปีดหนีไป ยิ่งช่วงลงสะพาน ยิ่งกระหน่ำหนีไปไกล เกือบ 200 เมตร  ผมเองจึงปล่อยไป ไม่คิดตามต่อ เพื่อสะสมพลังงานใหม่อีกครั้ง ทำให้ กม ที่ 9 เวลาวิ่งหล่นไป เกือบ 20 วินาที จากที่ตั้งใจไว้ แต่ก็ยังสามารถวิ่งแซงเพื่อนนักวิ่ง ได้หลายคน ที่เริ่มถอดใจกับสะพานนี้ ด้วยการเดินเป็นแถว

เมื่อจะเริ่มกลับตัวหลังจากวิ่งดิ่งลงสะพานข้ามแยกมา ก็พบ พี่คำรณ ของสวนพฤกษ์ 99 ที่วันนี้มาวิ่งลากพี่นัท อีกครั้ง ซึ่งเป็นภาพที่คุ้นตา เหมือนที่เจอที่งาน PEA  พลางคิดในใจ ถ้ายัยแจงวิ่งเกาะมาวันนี้สนุกแน่ แต่ก็ได้แต่คิดเพียงเท่านั้น

พระเจ้า ในขณะที่กำลังจะวิ่งกลับตัว เป็นจังหวะเดียวกับที่ อพปร ปล่อยมอเตอร์ไซต์ที่กักอยู่ออกไป เพราะอาจเห็นว่าระยะคนสุดท้ายกับข้าพเจ้าห่างกันมาก แต่หารู้ไม่ว่าข้าพเจ้ากำลังสปีดเพื่อให้ทันกับจังหวะการกันรถ แต่ดีที่ว่า เจ้าหน้าที่สายตาไว จึงรีบออกมากันรถให้อีกครั้ง

ปราศจากความกลัวใดๆ จึงเริ่มเร่งสปีดอีกครั้ง เป้าหมายครั้งนี้ อยู่ที่ 4.20 นาที และใส่ให้หมดถังเมื่อ 500 สุดท้าย เมื่อข้ามสะพานเล็กข้ามคลอง มา เพื่อรับน้ำในจุดที่ 5 ซึ่งก็คือจุดที่ 1 ที่ข้าพเจ้าไม่ได้รับนั่นเอง ระยะห่างจากเป้ เริ่มลดลง ข้าพเจ้าจึงเริ่มเร่งสปีดอีกครั้ง เพราะรู้ว่า ถ้าไม่ใส่ตั้งแต่ตอนนี้ โอกาสที่จะทำสถิติใหม่ให้กับตัวเอง คงเกิดขึ้นอีกที อีกนานแน่ๆ

เครดิต ภาพ โปรรุจน์
ก่อนที่จะเข้าสู่ตัวถนนพระราม 2 ก็สามารถวิ่งไล่แซงพี่สีฟ้า สาวแนวหน้าจากสยามรันเนอร์อีกท่าน และทัน หนุ่มน้อยจากเซ็นทรัลพระราม 2 ที่เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ที่สามารถสร้างสถิติใหม่ให้กับตัวเอง พร้อมคว้าถ้วยอันดับ 4 ไปนอนกอดที่บ้านสมใจ จากงานบางหญ้าแพรก ที่ผ่านมา  ซึ่งบอกได้เลยว่าถ้าวันนี้ไม่ฟิต ไล่ไม่ทันแน่ เพราะการวิ่งวันนี้เจ้าเป้ วิ่งไม่มีตกเลย วิ่งจังหวะสม่ำเสมอมาตลอด ผมเลยแหย่ด้วยการเริ่มเร่ง เพื่อบิวท์กันเองให้ส่งแรงกัน ซึ่งได้ผล เพราะเมื่อผมเร่ง เป้ก็เร่งตาม ซึ่งถ้ากลับไปดูสถิติการวิ่งของเป้ จะเห็นได้ว่า เป้ประคองจังหวะได้สม่ำเสมอมาตลอดทาง จนกระทั่งผมมาล่อให้เร่ง 5555+

เมื่อเร่งขึ้นแล้ว มีการตอบรับ ยิ่งทำให้มันส์มากขึ้น ทำให้นึกไปถึงงานปลายปีเมื่อ 2 ปีก่อนที่ ถนนสายหนึ่ง ที่ผมกับบอย ผลัดกันนำ ผลัดกันแซง จนสร้างสถิติใหม่ตอนนั้นได้

นาทีนี้หยุดไ่ม่อยู่ใหญ่ เมื่อเห็นเป้าหมายสุดท้าย สาว ส้มดำ ที่วันนี้ นำม้วนเดียวจบในกลุ่มสมาชิก จึงเริ่มสปีดเพิ่ม เมื่อวิ่งไปถึงคุณหนก จึงชวนให้เร่งสปีด เพราะเห็นสาวโอ๋ ในกลุ่มอายุเดียวกันอยู่ข้างหน้า แต่เหมือนเจ้าตัวจะมีอาการอะไรสักอย่าง จึงไม่ได้ตามขึ้นมา จากจังหวะดังกล่าวส่งให้จังหวะการวิ่งขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับนักวิ่งเท้าเปล่าในคราบนักมวย ที่วิ่งด้วยกันสักพัก ก่อนที่จะมีภาพคู่กันในจังหวะที่โปรรุจน์ แห่งชัตเตอร์รั่นนิ่ง กดชัตเตอร์อยู่ ซึ่งเมื่อข้ามสะพานข้ามคลอง สะพานสุดท้าย ไปแล้ว ผมจึงเร่งอีกครั้ง เพื่อให้เข้าเส้นชัยเวลาให้ดีที่สุด เพราะโอกาสแบบนี้หายาก

ซึ่งก่อนที่จะเลี้ยวเข้าสู่ปลายทางของการแข่งขัน ก็มีโปรตุ้ม มาดักรอบันทึกภาพอยู่ จึงจัดท่านี้ให้พี่ไก่ เพื่อปลอบใจผลของแมนยูที่ผ่านมาให้
ขโมยท่ากางปีกจากผู้เฒ่าเต่ามา
เครดิตภาพ ตุ้มชัตเตอร์รันนิ่ง

จนสามารถผ่านจุด Finish ที่เวลา 50:17 นาที  แต่เมื่อกดนาฬิกาหยุดเวลาที่ข้อมือข้าพเจ้า มันหยุดที่เวลา 48:17 นาที  ซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมายสำคัญอันแรกคือ  วิ่งนครธนทุกปี เวลาต้องดีขึ้นทุกปี ไปจนได้

ซึ่งเมื่อมาตรวจผลการแข่งขัน ถึงแม้จะไม่ได้ถ้วยใดๆ จากการแข่งขัน แต่ พณ ท่านเอ็นโดมอนโด ก็ใจดีมอบถ้วยให้ 3 ใบ จากสถิติใหม่
10K  45:00
5K    22:21
3Mile  21:38

พบกันใหม่ปีหน้า ที่เวลาต่ำกว่า 48 นาที